TKP HEADLINE

Showing posts with label จังหวัดเชียงราย. Show all posts
Showing posts with label จังหวัดเชียงราย. Show all posts

วนอุทยานดอยพระบาททุ่งก่อ

 


วนอุทยานดอยพระบาททุ่งก่อ

                ดอยพระพุทธบาท เป็นที่ตั้งของโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณทางศาสนา เช่น พระธาตุทุ่งก่อ รอยพระบาทเหนือ รอยพระบาทใต้ ผาเล็งโลก ผาเกิ้ง ผาม้า ผาตัด ขุมทรัพย์ ดอกบัวหินบ่อน้ำติ๊บ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าบ้านเหล่า

วัดป่าบ้านเหล่า

หลวงปู่ขาน ฐานวโร “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตตั้งไว้ประเสริฐแล้ว”

                หลวงปู่ขาน ท่านมีศักดิ์เป็นลุงของท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยเจ้าแห่งวาชูคุ เพราะเป็นพี่ชายของโยมมารดาท่านพระอาจารย์เสถียร และเป็นพระอาจารย์ผู้อบรมธรรมให้กับท่านพระอาจารย์เสถียร อีกด้วยชีวิตช่วงเยาว์วัย ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำสวน ได้ออกบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครั้นต่อมาเมื่ออายุ ๒๑ ปี ๑๐ เดือน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๑๕.๔๓ น. ณ วัดป่าชะบาวัน บ้านกุดฉิม ต.บ้านค้อ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโยธานิมิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อุ่น ชาคโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพ็ง อิติโสภโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานวโร” แปลว่า “มีที่ตั้งอันประเสริฐ” อ่านเพิ่มเติม

การทำตุงล้านนา

 

การทำตุงล้านนา

            ตุงล้านนา ซึ่งคำว่า ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือ แปลว่าธงที่ใช้สำหรับแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา สามารถพบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยคนทางภาคเหนือ จะนำตุงมาใช้เป็นเครื่องประดับ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณี งานเทศกาล หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ วัตถุที่นำมาทำตุงในล้านนามีหลากหลายรูปแบบ ลักษณะที่แผ่นวัตถุทำจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลือง หรือใบลาน  อ่านเพิ่มเติม


กลุ่มทอผ้าบ้านโป่งเทวี


กลุ่มทอผ้าบ้านโป่งเทวี
                เมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นเป็นกลุ่มแรกของกลุ่มอาชีพ โดยการคิดริเริ่มของ นายดวงต๋า พิชัย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น มีแรงบันดานใจเพราะได้รับคำแนะนำจากพัฒนาการอำเภอ กิจกรรมของกลุ่มทอผ้าสมัยนั้นเป็นการทอผ้าโดยใช้กี่กระตุก มีการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เป้าหมายด้านการตลาดจะทอผ้าจำหน่ายให้กับคนในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล และ ผลิตใช้เอง ผลงานเด่นคือได้ทอผ้าให้กับจังหวัดเชียงราย ใช้ในงานกีฬาแห่งชาติ สมัยที่จังหวัดเชียงรายเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากนั้นก็ได้ผลิตขยายตลาดไปทั่วทั้งจังหวัด ทั้งประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มกิจกรรมกลุ่มแรกที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ต่อมากลุ่มพัฒนาสตรีของหมู่บ้านโป่งเทวี อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านโป่งเทวี


กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านโป่งเทวี
            เนื่องจากบรรพบุรุษได้ย้ายถิ่นฐานมาจากอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อพ่ออุ้ยคำ แม่อุ้ยคำมา สมบูรณ์ ได้มาเห็นสภาพของดินที่คล้ายกับสภาพดินจากภูมิลำเนาเดิม จึงได้ทดลองนำดินมาปั้นเป็นน้ำต้น (คนโท) ปรากฏว่าน้ำต้นมีคุณภาพ ได้มาตรฐานดีมาก จึงเริ่มผลิตเป็นสินค้าขายภายในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้เกิดอาชีพเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จนสืบทอดให้แก่รุ่นลูก อ่านเพิ่มเติม

กาละแมจิราพันธ์


กาละแมจิราพันธ์

            กาละแมจิราพันธ์ เริ่มต้นเกิดขึ้นในปี 2540 จากกลุ่มแม่บ้านเกษตร หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพให้แก่แม่บ้าน โดยมีนางรุจิรา วงศาสุราฤทธิ์ เป็นประธานกลุ่มในขณะนั้น ได้ให้ภูมิปัญญาจากจังหวัดเชียงใหม่ มาสอนกลุ่มทำกาละแม กาละแมที่ฝึกทำในกลุ่มช่วงแรกเป็นกาละแมแบบรสดั้งเดิม แต่รสชาติ ความอร่อยยังไม่ตรงตามความต้องการของกลุ่ม นางรุจิรา พร้อมสมาชิกกลุ่ม จึงได้พัฒนาสูตรและปรับปรุงพัฒนาจนได้กาละแมที่มีรสชาติและความอร่อยตรงตามความต้องการของกลุ่ม จึงได้เริมผลิตและจำหน่ายครั้งแรกในปี 2541 โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า“กาละแมเสวยจิราพันธ์”โดยแรกเริ่มขั้นตอนการผลิตทั้งหมดจะทำด้วยมือทั้งหม อ่านเพิ่มเติม

น้ำพุร้อนทุ่งเทวี

 

น้ำพุร้อนทุ่งเทวี

            บ่อน้ำพุร้อนทุ่งเทวี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านโป่งเทวี ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นจุดกำเนิดของแหล่งน้ำพุร้อนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม และไร่นาของชาวบ้านมีบรรยากาศทางธรรมชาติที่สงบร่มรื่น มีกลิ่นกํามะถันไม่รุนแรง ไม่เหมาะสมแก่การบริโภคแต่สามารถใช้อุปโภคหรือทำการบำบัดได้ มีการก่อปูนล้อมรอบแหล่งเกิดน้ำพุร้อน และมีสิ่งอํานวยความสะดวกอยู่บริเวณโดยรอบ

อ่านเพิ่มเติม

ผะญ๋าหมอเมือง

 

ครูภูมิปัญญา ผะญ๋าหมอเมือง

ชีวิตและผลงาน

                ในช่วงวัยเด็กมารดาจะให้เป็นผู้นวดร่างกายให้เนื่องจากปวดเมื่อยร่างกายจากการทำงานโดยจะคอยสอนให้นวดตามจุดต่าง ๆ ที่จะทำให้คลายปวดเมื่อย และสามารถจดจำได้อย่างรวดเร็ว บ้านอยู่ในพื้นที่ชนบทการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มักจะใช้สมุนไพรในการรักษา ซึ่งตนเองมีความสนใจและได้ช่วยหาสมุนไพรให้กับผู้ใหญ่ เช่นสมุนไพรในการอยู่ไฟของมารดาหลังคลอดบุตร สมุนไพรรักษาอาการปวดไข้ รักษาแผล สด แผลเรื้อรัง เป็นต้น สมุนไพรที่ใช้สามารถหาได้ในพื้นที่บางส่วนก็ต้องเข้าไปเก็บในป่าจึงทำให้สามารถจดจำสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆได้อย่างแม่นยำ ทำให้ได้รับมอบหมายให้เก็บสมุนไพรจากผู้ใหญ่มาโดยตลอดพร้อมทั้งได้รับการสอนจากการปฏิบัติจริงทำให้สามารถเรียนรู้การใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย  อ่านเพิ่มเติม

วัดถ้ำปลา

 

วัดถ้ำปลา
            วัดถ้ำปลาเป็นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ มีสภาพแวดล้อมเป็นป่าภูเขา ถ้ำ และ ลำห้วย มาแต่เดิม อดีตเคยได้เป็นที่อยู่ปฏิบัติสมณธรรม ของนักพรตนักบวชต่างๆ ตลอดจนพระภิกษุผู้ปฏิบัติธุดงค์ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระไทย พม่า ลาว จีน ได้อาศัย จำพรรษาอยู่ จนเกิดตำนานเกี่ยวกับถ้ำปุ่มถ้ำปลาขึ้นมาตั้งแต่ยุคร่วมสมัยโยนกเชียงแสนเป็นต้นมาเนื่องจากบริเวณนี้มีถ้ำ มีลำน้ำที่ไหลออกตลอดทั้งปี และฝูงปลานานาชนิดอาศัยอยู่โดยธรรมชาติผู้คนจึงเรียกว่าถ้ำปลา อ่านเพิ่มเติม

สารพัด "ตำ"

 

สารพัด "ตำ"

            คำว่า ‘ส้มตำ’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า ส้ม ที่แปลว่าผลไม้ชนิดหนึ่ง แต่ส้มตำมาจากภาษาท้องถิ่นเหนือ ‘ส้ม’ แปลว่า รสชาติเปรี้ยว และ ‘ตำ’ คือการใช้สากหรืออุปกรณ์ที่คล้ายคลึง โขลกลงไปอย่างแรงเพื่อให้วัตถุดิบเข้ากัน พอนำสองคำนี้มารวมกันจึงแปลว่า อาหารรสเปรี้ยวที่เกิดจากการโขลกนั้นเองจ้าา

อ่านเพิ่มเติมจร้า

ว่าด้วยเมนู "จอ"

 


ว่าด้วยเมนู "จอ"

            คำว่า "จอ" เป็นคำเรียก ของการปรุงอาหารประเภทผักของคนพื้นถิ่นภาคเหนือ โดยการนำน้ำใส่หม้อตั้งไฟปรุงด้วย เกลือ กะปิ ปลาร้าเมื่อน้ำเดือดจึงใส่ผักลงไป จากนั้นจึงเติมรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด (ไม่นิยมน้ำมะนาว มะเขือเทศ มะกรูด) การจออาจใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้ ชนิดผักที่มีการนำมาจอ เช่น ผักกาด ผักหนาม ผักกูด ผักบุ้ง ผักมันแกว ซึ่งบางแห่งนิยมใส่ถั่วเน่าแข็บผิงไฟ และน้ำอ้อย ลงไปด้วย นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด ตัดเป็นท่อน โรยหน้าแกง หรือรับประทานต่างหาก แล้วแต่ชอบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1790 ; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550) อ่านเพิ่มเติม




น้ำพริกน้ำผัก

 

น้ำพริกน้ำผัก

            “น้ำผัก” ภูมิปัญญาการถนอมและแปรรูปอาหารอย่างหนึ่งของชาวไทลื้อ ได้จากการนำผักในสวนครัว ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ผักกาดจ้อน (ผักกาดกวางตุ้ง) และผักกาดเขียวปลี มาสับ ตำ และบดให้ละเอียด (ปัจจุบันมักใช้การปั่นหรือโม่) ผสมน้ำ เกลือ และข้าวเหนียวเล็กน้อย ดองทิ้งไว้ 2-3 คืน จนมีรสเปรี้ยว ถ้าชอบรสเปรี้ยวมากก็ดองนาน สัก 4-5 วัน จากนั้นกรองเอาน้ำผักมาเคี่ยวไฟจนงวดแห้ง ได้กากสีเขียวคล้ำ เรียกว่า “น้ำผัก” เก็บไว้ใช้ได้นาน 2-3 เดือน หรือถ้าเก็บใส่ตู้เย็นอาจเก็บรักษาได้เป็นปี อ่านเพิ่มเติม

จิ๊นส้มเหม็นโอ่กับแคบหมูไม่ปุ๊

 

จิ๊นส้มเหม็นโอ่กับแคบหมูไม่ปุ๊

            ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการถนอมอาหาร ในประเทศไทย เป็นองค์ความรู้สำคัญส่วนหนึ่งที่ต้องร่วมมือกันเผยแพร่ อนุรักษ์รักษา ปลูกฝังให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงความสำคัญ รู้สึกถึงคุณค่าความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตชุมชน โดยเฉพาะภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการถนอมอาหาร ของอำเภอแม่สาย มีแนวโน้มจะสูญหาย เนื่องจาก วัฒนธรรมการนิยมบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ความเร่งรีบ อ่านเพิ่มเติม

แกงหน่อไม้ไร่ใส่ใบย่านาง


แกงหน่อไม้ไร่ใส่ใบย่านาง
            อะไรเอ่ย เมื่อเด็กนุ่งผ้า โตขึ้นมาแก้ผ้าเปลือยตัว ปริศนาคำทายที่เราคุ้นชินได้ยินมาตั้งแต่เด็ก คำตอบก็คือ หน่อไม้ หรือต้นอ่อนของต้นไผ่ ต้นหญ้าที่ได้รับการขนานนามว่าใหญ่ที่สุดในโลก จากไผ่จำนวน 111 สกุล 1,447 ชนิด (ข้อมูลจากวิกิพีเดียประเทศไทย) นอกจากความยิ่งใหญ่ และคุณประโยชน์นานานับประการของมันแล้ว หน่อไม้ ถือเป็นผักที่ใครหลายคน จัดให้เป็นเมนูอาหารที่เลิศรส อ่านเพื่มเติม

ขนุนหนุนนำชีวิต

 


ขนุนหนุนนำชีวิต

                ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรามักจะถูกปลูกฝังด้วยความเชื่อในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อทางศาสนา เช่น คนทำดีจะได้ไปสวรรค์ คนทำชั่วต้องตกนรก, ความเชื่อในเรื่องโชคชะตา เช่น ลายมือกำหนดชีวิต หรือชีวิตขึ้นลงตามวันเวลาเกิด หรือตกฟาก ชื่อนามสกุล ที่ไม่ตรงตามวันเวลาเกิด ความเชื่อในผีสางเทวดานางไม้ การสะเดาะเคราะห์ และอื่นๆ อีกมากมาย ในสังคมไทยในอดีตมีคตินิยม ความเชื่อ ที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่ล้วนแล้วจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ที่เป็นเรื่องราวที่ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ความเชื่อดังกล่าว มักจะช่วยเสริมสร้างกำลังใจ เป็นการสะกดจิตให้เชื่อว่าจะมีสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต หากกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ อาทิเช่น ความเชื่อในการปลูกต้นไม้มงคล อาทิเช่น ขนุน มะยม ไว้ในบ้าน เป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าของบ้าน ซึ่งบ้านของผู้เขียนก็มีทั้งต้นขนุน และมะยมในบ้าน อ่านเพิ่มเติม

พิธีสืบจ๊ะต๋า

พิธีสืบจ๊ะต๋า

            พิธีสืบชะตา เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย อ่านเพิ่มเติม

ปางควาย

 "ปางควาย"

ปางควายเวียงหนองหล่ม 

            ปางควาย คือ บริเวณที่ชาวบ้านนำควายมาพัก และมีการทำคอก มีบ้านพักชั่วคราวสำหรับผู้เลี้ยง ตั้งอยู่กระจายโดยรอบบริเวณเวียงหนองหล่ม เป็นแหล่งที่ชาวบ้านนำควายลงไปกินหญ้าตามสันดอนต่างๆ ในเวียงหนองหล่ม และพื้นที่รกร้างโดยรอบ บริเวณเวียงหนองหล่มเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงควายกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงราย อ่านเพิ่มเติม

จักสานไม้ไผ่

 


จักสานไม้ไผ่

            ประวัติความเป็นมาการจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน การจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ ภูมิปัญญาสามารถนาสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อ่านเพิ่มเติม

ปางฮุ้งเวียงหนองหล่ม


ปางฮุ้งเวียงหนองหล่ม

        ปางฮุ้งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่หลายพันไร่ ที่เหยี่ยวด่างดำขาว อาศัยพักนอนกลางคืน รวมกันเปนฝูงกว่า 200 ตัว ในฤดูหนาว นาน 6-7 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึงปลายเดือนเมษายนซึ่งเป็นเหยี่ยวทุ่งช่วยชาวนาและเกษตรกรรอบเวียงหนองหล่ม ด้วยการล่าหนูนาชนิดต่างๆ กินเป็นอาหาร อ่านเพิ่มเติม

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านห้วยขมนอก หมู่ 10 ต.แม่ยาว

            ชุมชนตําบลแม่ยาว เป็นชุมชนชนบทแถบชานเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ระหว่างภูเขาและพื้นที่ราบสูงส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ประชากรมีทั้งคนไทยพื้นเมือง ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ลาหู่ อาข่า เย้า กระเหรี่ยงเป็นชุมชนตําบลที่มีความ หลากหลายวัฒนธรรม จุดเด่นของชุมชนตําบลแม่ยาว คือ วัฒนธรรมการผลิตผ้าทอกะเหรี่ยง ที่เป็นผ้าคงความเป็นเอกลักษณ์เดิมใน ความเป็นวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงทั้งในด้านวิธีการ ขั้นตอนการทอและลวดลายต่าง ๆ



ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดเชียงราย. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand